วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

 สารประกอบไอออนิก  สารโคเวเลนต์ และโลหะ    มีสมบัติบางประการที่ต่างกัน






การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

    เนื่องจากสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ มีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่แตกต่างกัน เช่น ความสามารถในการนำไฟฟ้า จุดหลอมเหลว จุดเดือด ฯลฯ ดังที่กล่าวก่อนหน้า ดังนั้น เราจึงสามารถนำสารต่างชนิดเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในด้านที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม เช่น  

    - แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) และซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำ จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉายได้

    - พอลิไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC (C2H3Cl)n เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ จึงนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า

    - ซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมาก จึงนำไปใช้ทำเครื่องบด เครื่องโม่ และหินลับมีด   

    - ทองแดง (Cu) และอะลูมิเนียม (Al) เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า โดยโลหะทองแดงสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าโลหะอะลูมิเนียมจึงใช้ในสายไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือน สำหรับโลหะอะลูมิเนียมซึ่งมีลักษณะเบา ถึงแม้จะนำไฟฟ้าได้ไม่ดีเท่าทองแดงแต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้ในกรณีที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายและน้ำหนักของวัสดุ

    - อะลูมิเนียม (Al) และเหล็ก (Fe) เป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปใช้ทำภาชนะสำหรับการประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบทดสอบบทที่ 3

  1.   จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล  CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3  เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ    คือข้อใด     ก.  4 , 4 , 0 , 3      ข.  6 ,...